E-Book-59WSC คู่มือการบริหารจัดการโลจิสติกส์และจัดทำ Workshop สัญจร ปี 2559
1. ชื่อหนังสือ คู่มือการบริหารจัดการโลจิสติกส์และจัดทำ workshop สัญจร ปี 2559
2. ชื่อผู้จัดทำ สำนักโลจิสติกส์ กรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่ และ สถาบันวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมอุตสาหกรรมการผลิต (SMI) สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย
3. ข้อมูลหนังสือ
คู่มือการบริหารจัดการโลจิสติกส์อุตสาหกรรมและการจัดทํา Workshop สัญจรนี้ จัดทําขึ้น ภายใต้ “โครงการ Workshop สัญจร ขยายผลความรู้ด้านโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน ภาคอุตสาหกรรมเพื่อความเข้มแข็งทางธุรกิจประจําปี 2559” โดยมีวัตถุประสงค์ใช้เป็นเอกสาร ประกอบการจัดทํา Workshop ของสถานประกอบการที่เข้าร่วมโครงการ Workshop สัญจรพารวย ด้วย Smart Logistics ในปี 2558 โดยภายในคู่มือประกอบด้วย การเพิ่มประสิทธิภาพการจัดการโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน 9 กิจกรรมด้านโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน การประเมินศักยภาพด้านโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน กิจกรรม Workshop ภายในคู่มือจะมีการอธิบายกิจกรรมด้านโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน พร้อมตัวอย่างของแบบอย่างที่ดีในการจัดการโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน เพื่อเป็นแนวทางให้สถานประกอบการเข้าใจกระบวนการพัฒนาระบบโลจิสติกส์และโซ่อุปทานชัดเจนยิ่งขึ้น โครงการ Workshop สัญจร ขยายผลความรู้ด้านโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน ภาคอุตสาหกรรมเพื่อความเข้มแข็งทางธุรกิจประจําปี 2559 หรือ โครงการ Workshop สัญจรพารวย ด้วย Smart Logistics เป็นโครงการต่อเนื่องจาก ปี 2555 เรื่อยมา ซึ่งประสบความสําเร็จ อย่างดีในการจัดทํา Workshop ให้กับผู้ประกอบการในจังหวัดต่างๆ ของ 5 ภูมิภาค โดยโครงการนี้เป็นโครงการในความรับผิดชอบของสํานักโลจิสติกส์ กรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่ กระทรวง อุตสาหกรรม และดําเนินโครงการโดยสถาบันวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมอุตสาหกรรมการผลิต (SMI) สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย เพื่อเผยแพร่ความรู้และแบบอย่างที่ดีในการจัดการโลจิสติกส์ และโซ่อุปทานแก่สถานประกอบการในปี 2559 อีก 10 จังหวัด โดยใช้คู่มือการบริหารจัดการโลจิสติกส์ และการทํา Workshop สัญจรนี้ เป็นแนวทางในการจัดทํากิจกรรมให้เกิดประสิทธิภาพและเป็นประโยชน์ต่อผู้เข้าร่วมโครงการ ตลอดจนสามารถนําคู่มือนี้ไปใช้ประโยชน์ในการจัดทําโครงการเพิ่มประสิทธิภาพโลจิสติกส์และโซ่อุปทานในองค์กรต่อไป
4. สารบัญ
บทที่ 1 การเพิ่มประสิทธิภาพการจัดการโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน
1.1 ความสําคัญของการจัดการโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน
1.2 คาดการณ์ความต้องการของตลาด
1.3 จัดเตรียมและส่งมอบสินค้าให้ทันเวลาเต็มจํานวน
1.4 ส่งมอบสินค้าและบริการที่มีคุณภาพดีเท่านั้น
1.5 ข้อมูลโลจิสติกส์และโซ่อุปทานมีความถูกต้อง
1.6 ตอบสนองความต้องการอย่างรวดเร็ว
1.7 จัดส่งสินค้าอย่างมีประสิทธิภาพ
1.8 ลดระยะเวลาการเก็บวัตถุดิบและสินค้าคงคลัง
1.9 ลดต้นทุนการถือครองวัตถุดิบและสินค้าคงคลัง
1.10 ลดต้นทุนการบริหารคลังวัตถุดิบและคลังสินค้า
1.11 ลดต้นทุนการขนส่งสินค้า
1.12 เชื่อมโยงระบบข้อมูลการดําเนินธุรกิจตลอดโซ่อุปทาน
1.13 นิยาม 9 กิจกรรมด้านโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน
บทที่ 2 การประเมินศักยภาพและประสิทธิภาพด้านโลจิสติกส์
2.1 การประเมินศักยภาพด้านโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน
วิธีการประเมินศักยภาพด้านโลจิสติกส์
ดัชนีด้านที่1 การกําหนดกลยุทธ์สถานประกอบการ
ดัชนีด้านที่2 การวางแผนและความสามารถในการปฏิบัติงาน
ดัชนีด้านที่3 การพัฒนากิจกรรมด้านโลจิสติกส์
ดัชนีด้านที่4 ระบบการบริหารข้อมูลสารสนเทศและเทคโนโลยีสารสนเทศ
ดัชนีด้านที่5 ความร่วมมือระหว่างสถานประกอบการ
2.2 การประเมินประสิทธิภาพด้านโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน
การประเมินประสิทธิภาพภาพด้านโลจิสติกส์ ตัวชี้วัดหลัก
มิติที่1 ด้านการบริหารต้นทุน
มิติที่2 ด้านเวลา
มิติที่3 ด้านความน่าเชื่อถือ
การประเมินประสิทธิภาพภาพด้านโลจิสติกส์ ตัวชี้วัดสนับสนุน
มิติที่1 ด้านการบริหารต้นทุน
มิติที่2 ด้านเวลา
มิติที่3 ด้านความน่าเชื่อถือ
คู่มือการบริหารจัดการโลจิสติกส์อุตสาหกรรมและจัดทํา Workshop โครงการ Workshop สัญจรพารวย ด้วย Smart Logistics
บทที่ 3 กิจกรรม Workshop สัญจร พารวย ด้วย Smart Logistics
3.1 การทํา Workshop ด้านโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน
กําหนดการจัดกิจกรรม Workshop
ขั้นตอนการทํา Workshop
แบบฟอร์มการทํา Workshop
ตัวอย่างการกรอกแบบฟอร์ม Workshop
ตัวอย่างรูปแบบเนื้อหาการนําเสนอ
3.2 การศึกษาดูงานด้านโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน
แนวทางปฎิบัติในการศึกษาดูงาน ณ สถานประกอบการ
แบบฟอร์มบันทึกการศึกษาดูงาน ณ สถานประกอบการ
5. อื่่น ๆ
Comments
RSS feed for comments to this post